what is calibration?
คาลิเบรดชั่น (Calibration ) / แอดจัสเม้น (Adjustment )หรือการสอบเทียบและปรับแต่งให้เครื่องชั่งสำคัญอย่างไร ?
เครื่องมือวัดทุกชนิดจะต้องมีการทำการสอบเทียบและปรับแต่งให้แสดงค่าที่วัดได้เป็นค่าที่ถูกต้องเชื่อถือได้เมื่อเทียบกับมาตรฐานที่รู้ค่า ทั้งนี้รวมถึงเครื่องชั่งไฟฟ้าที่แสดงค่าได้เองด้วย ถ้าค่าที่อ่านได้ผิดไปจากค่าที่ถูกต้องหมายถึงการสูญเสียในการซื้อขาย
สำหรับเครื่องชั่ง จากหลักการทางฟิสิกที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกกันว่า น้ำหนัก เท่ากับ มวล(เนื้อของสิ่งที่มาชั่ง) คูณด้วยค่าความเร่ง(ค่า g) และเป็นหลักการของการชั่งน้ำหนัก และค่าความเร่งแต่ละที่บนพื้นผิวโลกก็แตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่นความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง, ตำแหน่งละติจูด,ลักษณะทางธรณีวิทยา ยกตัวอย่างเช่นกรุงเทพมหานคร(พระราม6)ค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78297 m/s2 ปทุมธานี(คลอง 5)ค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78312 m/s2 อุดรธานีค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78415 m/s2 อุบลราชธานีค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78322 m/s2 ชุมพรค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78198 m/s2 สงขลาค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78120 m/s2 เชียงใหม่ค่าความเร่ง(ค่า g)=9.78426 m/S2
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าใช้เครื่องที่กรุงเทพชั่งแล้วนำเครื่องชั่งตัวเดียวกันที่ยังไม่ได้ทำคาลิเบรดชั่น (Calibration ) / แอดจัสเม้น (Adjustment )ไปชั่งที่เชียงใหม่จะได้ค่าน้ำหนักที่แตกต่างกันทั้งนี้รวมถึงสภาพที่ชั่งในอาคารที่ทำการเดียวกันแต่คนละชั้นก็จะเกิดปรับหานี้ขึ้นเช่นกัน